วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553
ประวัติโรงเรียนชุมชนบ้านสะแก
โรงเรียนชุมชนบ้านสะแกตั้งขึ้นเมือวันที่ 16 เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2477 อาศัยโรงธรรมของวัดเป็นสถานที่เล่าเรียน ให้นามว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลสตึก 1 วัดบ้านสะแก” รับเด็กอายุในเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช 2466 จัดชั้นเรียนแบบสหศึกษา จัดการเรียนการสอนจากชั้นประถมศึกษาที่ 1 – 6
-ปี 2491 นายดง คะดีเวียง ได้บริจาคที่ดินก่อสร้างอาคารเรียน จำนวน 5 ไร่ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของวัดบ้านสะแก ได้รับงบประมาณจากทางราชาร 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) สร้างอาคารถาวรขึ้น โดยนายรัตน์ มูลศาสตร์ เป็นผู้รักษาการแทนศึกษาธิการอำเภอ เปลี่ยนนามโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนบ้านสะแก”
- ปี 2497 ทางราชการให้เป็นโรงเรียนปรับปรุงส่งเสริมตามสภาพแผนใหม่
- ปี 2516 ได้รับอนุมัติให้เปิดเรียนถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เป็นการศึกษาภาคบังคับ
- ปี 2517 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง
- ปี 2518 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูหลังที่ 2 อาคารเรียน แบบ (ป. 1ซ)และโรงฝึกงาน งบประมาณ 60,000 บาท (หกหมื่นบทถ้วน) คณะครู กรรมการศึกษา พ่อค้า ประชาชน ได้ร่วมกันสละทรัพย์สินซื้อที่ดินขยายออกไปทางทิศตะวันออก จำนวน 1 ไร่ 3 งาน 83 ตารางวา
- ปี 2519 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูหลังที่ 3
- ปี 2521 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนชุมชนตามแผนการปรับปรุงส่งเสริมการศึกษาแห่งชาติ ให้นามใหม่ว่า “โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก”
- ปี 2522 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนขนาด 6 ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง ราคา 460,000 บาท (สี่แสนหกหมื่นบาทถ้วน)
- ปี 2523 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู จำนวน 3 หลัง สร้างหอประชุมจากวัสดุอาคารหลังรกที่ขอรื้อถอน โดยความร่วมมือจากผู้ปกครองและประชาชนในเขตบริการ
- ปี 2534 – 2536 ได้ก่อสร้างสนามกีฬาวอลเลย์บอล และสนามตะกร้อ ใช้งบประมาณ 160,000 บาท(หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน) โดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด
- ปี 2540 ก่อสร้างรั้วคอนกรีตทางด้านทิศใต้ งบประมาณ 120,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) โดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด
- ปี 2541 ทางราชการจัดเข้าให้เป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา และได้รับงบประมาณสร้างห้องเรียนพิเศษขึ้น 2 ห้อง คือ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางภาษา
- ปี 2545 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ จัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในบริเวณโรงเรียน ราคา 399,000 บาท(สามแสนเก้าหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) และปรับปรุงสนามเอนกประสงค์ ราคา 82,555.50 บาท(แปดหมื่นสองพันห้าร้อยห้าสิบห้าบาทห้าสิบสตางค์) ซึ่งได้รับงบประมาณจากการบริจาคของศิษย์เก่า และผู้มีจิตศรัทธา
ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทางการศึกษา (สมศ.) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 27 – 29 สิงหาคม 2545 อยู่ในระดับ ดี
- ปี 2546 ได้จัดงานศิษย์เก่า เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เป็นเงินทั้งสิ้น 412,924 บาท
- ปี 2547 ได้จัดทำแปลงและปลูกไม้ดอกไม้ประดับหน้าอาคาร 1
- ปี 2548 จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 (ช่วงชั้นที่ 1) และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2)
- ปี 2549 จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 (ช่วงชั้นที่ 1) และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2)
- ปี 2550 จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 (ช่วงชั้นที่ 1) และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2)
- ปี 2551 จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 (ช่วงชั้นที่ 1) และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2)
ปัจจุบัน ( ปี 2552 ) จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย (ชั้นอนุบาลปีที่ 1- ชั้นอนุบาล 2 – การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( ช่วงชั้นที่ 1 – ช่วงชั้นที่ 2 )
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
วิสัยทัศน์
ภายในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก จัดการศึกษาให้นักเรียนเป็นคนดี มีความสามารถ มีความสุข ก้าวทันเทคโนโลยี พัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
พันธกิจ
1. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมตามหลักธรรมของศาสนา
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่านและนำภาษาไทยไปใช้ในการสื่อสารได้ถูกต้อง
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ด้านทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศอย่างทั่วถึง
4. พัฒนาผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและมีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
6.พัฒนาบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพ
7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
8. จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะแม่ไม้มวยไทย
9. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
10. จัดให้มีการกำกับ ติดตามประเมินผล นิเทศการทำงานอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
11. จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และตามนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)